อย่าหยุดเค็ม !!!

คุณมีเพื่อนกินเค็มตั้งมากมาย อย่าไปกลัว
ถ้าต้องไปโรงพยาบาล ก็ไปด้วยกัน ไม่เหงาเเน่นอน

คิดถูกรึเปล่านะ หรือควรคิดใหม่?

ปี 2564 คนไทยกินเค็มวันละ 3,636 มิลลิกรัม
เกือบ 2 เท่าของปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภค

ตามที่องค์การอนามัยโลก
(World Health Oraginization; WHO)1 กำหนด

ช่วงอายุ 25 - 59 ปี ติดเค็มหรือบริโภคโซเดียม
มากกว่าช่วงวัยอื่นโดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
และคนที่มีความดันโลหิตสูง


สิ่งที่น่ากังวลคือคนรุ่นใหม่ (อายุ 17-24 ปี)
บริโภคโซเดียมมากเกินไปถึง 3,194 มิลลิกรัมต่อวัน
ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับทั่วโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด
2,000 มก.

(เกลือ 1 ช้อนชา)

เด็กไทยบริโภค
เกินกำหนด 1.6 เท่า

(เกลือ 1 ช้อนชาครึ่ง)

เยาวชนเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูง และโรคไตเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

#ให้ความเค็มจบที่รุ่นเรา (รึเปล่า?)

เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สสส. ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO)
เก็บข้อมูลการบริโภคโซเดียมในปี 2564 กับคนทั่วประเทศกว่า 2,388 คน2

ในกลุ่มนี้มีเยาวชนเเละคนรุ่นใหม่
อายุ 17 - 24 ปี จำนวน 382 คน

มาส่องพฤติกรรมบริโภคโซเดียม
ของพวกเรากัน!!

ลากเม้าส์ที่รูป

สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรม
การบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560

โดยสำนักงานสถิติเเห่งชาติ3


คนรุ่นใหม่ อายุ 15 - 24 ปี

พฤติกรรมการบริโภค

48.31 %
เกือบครึ่ง

บริโภคขนมทานเล่น
1-2 ครั้ง/สัปดาห์

และ 6.35% ทานทุกวัน !!!

53.30 %
เกินครึ่ง

บริโภคอาหารสำเร็จรูป
1-2 ครั้ง/สัปดาห์

และ 2.87% ทานทุกวัน !!!

ปัจจัยการเลือกทานอาหาร

23.99 %

ความชอบ

19.56 %

รสชาติ

18.52 %

อยากทาน

พฤติกรรมการเติมรสชาติ

35.54 %

ไม่จำกัดเครื่องปรุงรส
ในการปรุงอาหารมีกี่ขวด
ก็ใส่ไม่ยั้ง ขอเเค่อร่อยก็พอ

64.80 %

เติมเครื่องปรุงก่อน
รับประทานอาหารซึ่งเป็น
ช่วงวัยที่มีการเติม
เครื่องปรุงมากที่สุด

ที่สำคัญ
63.80 %

จะปรุงรสเค็ม เติมน้ำปลา
หรือซีอิ๊วก่อนหรือมากกว่า
เติมน้ำตาลพริกน้ำส้มเเละ
พริกป่น

เลื่อนลง

step 1
step 2
step 3
step 4
step 4
step 4
step 4

อ่านเเล้วใจชื้นขึ้นมาหน่อย
มีเพื่อนร่วมชะตากรรมเยอะ!!!

ว่าเเต่...คุณเเละเพื่อนจะต้องเจอความน่าตื่นเต้น
กับชีวิตอย่างไรบ้างนะ

คลิกที่การ์ด

เอาเร็วๆ นี้ก่อนเเล้วกัน (ระยะสั้น)

(คลิกที่การ์ดเพื่อดูข้อมูลโรค)

กระหายน้ำมากขึ้น

ท้องอืดง่ายขึ้น

น้ำหนักขึ้นเร็วผิดปกติ

ใต้ตา มือ เท้าบวม

เหนื่อยง่าย

ความดันโลหิตสูง

คลิกที่การ์ด

นานขึ้นอีกหน่อย เเต่คงไม่นานมาก เพราะพวกเรามันเเฟนคลับความเค็ม (ระยะยาว)

(คลิกที่การ์ดเพื่อดูข้อมูลโรค)

ภาวะบวมน้ำ

ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

โรคความดันโลหิตสูง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหัวใจเเละหลอดเลือด

โรคไตวายเรื้อรัง

หากยังไม่เห็นภาพชัด !!

เลือกอาหารมาเลย
ดูกันว่าเค็มเเค่ไหน ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่4รักษาตัว

(เลือกเมนูที่คุณชอบเเละกดดูราคาความเค็มเเละราคาสุขภาพ)

คลิกที่การ์ด

มาม่าหม้อไฟเกาหลี
ไก่ทอดซอสเกาหลี
โคตรยำรวมมิตรน้ำปลาร้า
น้ำพริกกะปิ
ผักสด
สุกี้น้ำชาบู
หมูสด ทะเล
ต๊อกบกกี
ชีสกิมจิ
หมูกระทะ
น้ำซุป+น้ำจิ้ม
โจ๊กหมู
ไข่เยี่ยวม้า
ส้มตำถาด
บุฟเฟต์
เบเกอรี่

ไตเเละลิ้นสู่ขิตหรือรอดชีวิต
คุณเลือกได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิ โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคมะเร็ง เเละโรคเบาหวาน พรากชีวิตคนเป็นอันดับ 1 ของโลก5

ซึ่งในกลุ่มโรคนี้มีหลายโรค
ที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน

ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคนี้มากกว่า 3 เเสนคน
หรือ 73% ของการเสียชีวิตของประชากรทั้งหมด6

หากเฉยๆ กับการเสียชีวิต
แต่อยากจากไปเเบบไม่ทรมาน
ลองดูหน่อย!!!

เข้าใจนะว่าชอบกินเค็ม

เเละสภาพเเวดล้อมการบริโภคอาหาร
ในชีวิตประจำวันก็อาจเอื้อให้เรา
ติดเค็มโดยไม่รู้ตัว

เเต่เราปรับพฤติกรรมได้นะ !!!

ลิ้นเปลี่ยนได้
เลือกก่อนทาน
อ่านฉลากก่อนซื้อ

1. ลิ้นเปลี่ยนได้

ใน 21 วัน

(3 สัปดาห์ ปลุกลิ้น-ปรับลิ้น-เปลี่ยนลิ้น)

7 วันแรก

ปลุกลิ้น

เลือกเเละทานอาหารที่จืดลงเพื่อให้ลิ้นเริ่มปรับตัว

14 วันต่อมา

ปรับลิ้น

ปรุงอาหารหรือสั่งเมนูเค็มน้อยได้ที่ Sodium Lesstaurant7

sodiumlesstaurant.com

ครบ 21 วัน

เปลี่ยนลิ้น

อร่อยกับรสที่จืดลง

คลิกเพื่อเข้าเว็บไซต์

2. เลือกก่อนทาน

เช็คลิสต์พิชิตเค็ม

ของสดดีกว่าของดอง

เลี่ยงอาหารเเปรรูป

ลดน้ำจิ้ม-ซดน้ำซุป

ใช้เครื่องเทศ สมุนไพร เเทนเครื่องปรุงรส

ลดเติมเกลือ น้ำปลาเเละซอส

ลดขนมหรือเค้กที่มีผงฟู
(โซเดียมไบคาร์บอเนต) จำนวนมาก

งดอาหารเเช่เเข็ง

เช็คปริมาณโซเดียม
ในเเต่ละเมนูได้เพิ่มเติมที่
เว็บไซต์เครือข่ายลดบริโภคเค็ม8

คลิกเพื่อเข้าเว็บไซต์

3. อ่านฉลากก่อนซื้อ

เช็คโซเดียม

อย่าลืม!!!
ลิ้นเปลี่ยนได้ เลือกก่อนทาน
อ่านฉลากก่อนซื้อ

เเต่ลืมก็ได้ ชิลๆ เพราะ
“เค็มที่ปาก ลำบากไต ถ้าเลิกเค็มเเล้วปวดใจ
ทานต่อไปให้ไตพังเอย”

ด้วยรักเเละท้าทาย...จากเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
รู้ซึ้งเรื่องความเค็มต่อได้ที่ lowsaltthai.com